วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาและการปรับตัว


พฤติกรรมวัยรุ่นที่ก่อให้เกิดปัญหาและการปรับตัวทางเพศ อิทธิพลครอบครัว เพื่อน สังคม

พฤติกรรมวัยรุ่นที่ก่อปัญหา
       วัยรุ่นเป็นวัยที่มีปัญหาสุขภาพจิตได้มากที่สุดวัยหนึ่ง  ซึ่งแสดงออกเป็นปัญหาพฤติกรรมได้หลายประการ เช่น  ดื้อ  ไม่เชื่อฟัง  ละเมิดกฎเกณฑ์กติกาต่างๆ  มีแฟนและมีเพศสัมพันธ์  ใช้ยาเสพติด  ทำผิดกฎหมาย  ปัญหาพฤติกรรมบางอย่างมักเกิดขึ้นมานาน จนทำให้การแก้ไขมักทำได้ยาก  การป้องกันปัญหาจึงมีความจำเป็น  และสำคัญมากกว่าการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแล้ว  การป้องกันดังกล่าว  ควรเริ่มตั้งแต่การส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งแต่เด็ก  เด็กที่มีพัฒนาการของบุคลิกภาพดี   จะมีภูมิต้านทานโรคทางจิตเวชต่างๆ และช่วยป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในวัยรุ่นได้อย่างมากเช่นกัน  พ่อแม่และครูอาจารย์และผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเด็กทั้งหลาย  จึงควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมสุขภาพจิตตั้งเด็กจนถึงวัยรุ่นเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ สังคมและสิ่งแวดล้อมก็ควรมีส่วนร่วมในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กและวัยรุ่นเช่นเดียวกัน



สุขภาพจิตหมายถึงอะไร
องค์การอนามัยโลก (WHO in Hogarth 1978 : 236) ให้ความหมายของสุขภาพจิตว่า “สุขภาพจิต” ได้รับอิทธิพลจากปัจจัยด้านชีวะและสังคม เป็นสภาพที่ไม่คงที่ขึ้นอยู่กับระดับและความผันแปรต่างๆ สุขภาพจิตเป็นความสามารถของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น และความสามารถที่อยู่ได้หรือทำสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ในสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลง เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นในใจบุคคลที่มีสุขภาพจิตดี ก็จะสามารถปรับจิตใจให้เกิดความพอใจในผลที่ได้รับ และพร้อมที่จะเผชิญปัญหาแทนที่จะหลีกหนีจากปัญหาหรืออุปสรรคนั้น ๆ นอกจากนี้บุคคลที่มีสุขภาพจิตดีและสามารถใช้ความรู้สึกขัดแย้งในใจต่าง ๆ เป็นแรงผลักดันให้สามารถดำรงตนอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข


ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต
      สุขภาพจิตที่ดีเกิดจากร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ความสามารถทางจิตใจที่ปรับตัวได้กับทุกสถานการณ์  สภาพครอบครัวที่อบอุ่นและสภาพสังคมสิ่งแวดล้อมที่ดี

สุขภาพจิตมีความสำคัญอย่างไร
        คนที่มีสุขภาพจิตดี จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีความสุข เรียนรู้ได้เต็มตามศักยภาพที่มี ดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นประโยชน์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น ไม่เกิดอาการทางจิตเวช หรือโรคทางจิตเวชได้ง่าย  ถึงแม้ชีวิตจะเผชิญปัญหามาก  ก็สามารถแก้ไขผ่านพ้นไปได้ด้วยดี
คนที่สุขภาพจิตไม่ดี มักมีปัญหาในการปรับตัว มีอาการทางจิตเวช เช่น ความเครียด ซึมเศร้า แม้ว่าจะเจอปัญหาเล็กๆก็ปรับตัวได้ลำบาก  มีปัญหาพฤติกรรมได้บ่อย มักเจ็บป่วยด้วยโรคทางจิตเวชได้ง่าย และฟื้นตัวไม่ได้ดี


ปัญหาที่สำคัญในวัยรุ่น
1.  รักสบาย ขี้เกียจ ขาดความกระตือรือร้น เฉื่อยชา 
2.  ฟุ้งเฟ้อ ใช้เงินเปลือง ไม่เห็นคุณค่าของเงิน และของที่ได้มาง่าย ๆ
3.  ดื้อ เอาแต่ใจตัวเอง เห็นแก่ตัว ไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น ไม่ฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 
4.  ปัญหาทางเพศ เช่นการมีแฟนในวัยเรียน การมีเพื่อนต่างเพศไม่เหมาะสม การมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน การทำแท้ง การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ ความเบี่ยงเบนทางเพศ หรือรักร่วมเพศ เป็นต้น
5.  การใช้โทรศัพท์-อินเตอร์เน็ตนาน
6.  ดื้อ เกเร ก้าวร้าว รุนแรงทั้งกิริยา วาจา การกระทำรวมทั้งวิธีการแกปัญหาต่าง ๆ 
7.  คิดแกไขปัญหาต่างๆ ไม่เป็นระบบ หรือทำได้บางส่วน ขาดการวางแผน ไม่รอบคอบ  
8.  ใช้สารเสพติด ขาดการยับยั้งใจตนเอง ตามเพื่อน มีปัญหาทางจิตใจอารมณ์ ปัญหา การเลี้ยงดู
9.  ไม่ตั้งใจเรียน หนีเรียน หนีออกจากบ้าน
10. ขาดความรับผิดชอบขาดระเบียบ วินัย ไม่มีมารยาท ขาดการควบคุมตัวเอง หรือควบคุมตัวเองได้น้อย
11. ใจร้อน ตามใจตัวเองมากแต่ไปบังคับเรียกร้องจากคนอื่น 
11. ขาดทักษะ ขาดประสบการณ์ ขาดไหวพริบ 
12. ขโมย พูดปด
13. ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ และวัยรุ่นว้าเหว่  เหงา  เบื่อหน่ายง่าย ขาดจุดมุ่งหมาย ฯลฯ 
14. มีข้อขัดแย้งสูง ไม่มั่นใจตนเอง อารมณ์หงุดหงิด ขึ้นๆลงๆ
15. การพนัน


สาเหตุของปัญหาพฤติกรรมวัยรุ่น
·    ร่างกาย  การเปลี่ยนแปลงของสารเคมี  สารสื่อนำประสาท  โรคทางกาย โรคระบบประสาท   สารพิษ
·    จิตใจ  บุคลิกภาพ  ความคิด  การมองโลก  การปรับตัว
·    สังคม  การเลี้ยงดู  ปัญหาของพ่อแม่  ตัวอย่างของสังคม  สื่อต่างๆ


แนวทางการแก้ไขและช่วยเหลือเมื่อเด็กเริ่มมีปัญหา
1.   สร้างความสัมพันธ์ที่ดี
2.   รับฟังปัญหาเด็กเสมอ  ไม่ตำหนิ  หรือสั่งสอนเร็วเกินไป  ท่าทีเป็นกลาง
3.   เข้าใจปัญหา  หาข้อมูลเพื่อให้รู้สาเหตุ  และแนวทางการแก้ไขปัญหา
4.   มองเด็กในแง่ดี  มีความหวังในการแก้ปัญหาเสมอ
5.   กระตุ้นให้คิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีทางเลือกหลายๆทาง  วิเคราะห์ทางเลือกร่วมกัน
6.   ชี้แนะทางแก้ไขปัญหาในกรณีที่เด็กคิดไม่ออกด้วยตัวเอง
7.   เป็นแบบอย่างที่ดี
8.   ใช้กิจกรรมช่วย  กีฬา  ดนตรี  ศิลปะ  กิจกรรมกลุ่ม
9.   ให้เพื่อนช่วยเพื่อน อธิบายให้เพื่อนเข้าใจกัน ยอมรับและอยากช่วยเหลือกัน ไม่ตัวใครตัวมัน
10. ชมเชยเมื่อทำได้ดี
11. เมื่อทำผิด มีวิธีตักเตือน ชักจูงให้อยากเปลี่ยนแปลงแก้ไขตนเองให้ดีขึ้น
12. จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม
13. ให้ครอบครัวมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาครอบครัว

 การปรับตัวทางเพศ
การปรับตัวทางเพศที่เหมาะสม หมายถึง การรู้จักวางตัวในบทบาทที่เหมาะสมกับเพศของตน ซึ่งจะช่วยให้เราเกิดความรู้สึกมั่นคงในความเป็นหญิง หรือความเป็นชายของตัวเอง ไม่ประหม่า อึดอัด หรือปรับตัวไม่ได้เมื่ออยู่ต่อหน้าเพื่อนต่างเพศ  วัยรุ่นมีความรู้สึกรวดเร็วต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัว มีอารมณ์รุนแรง เนื่องจากร่างกายมีการสร้างฮอร์โมน ทางเพศ วัยรุ่นจึงเริ่มสนใจเพศตรงข้าม และเริ่มมีความวิตกกังวลในเรื่องการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย ทั้งสัดส่วนและรูปร่าง การใกล้ชิดกัน ทำงานร่วมกันทำให้เกิดความกังวลเรื่องการปรับตัวและการวางตัว ให้เหมาะสมกับเพศตรงข้าม


การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพศ
การคบเพื่อนต่างเพศจะช่วยให้วัยรุ่นมีการปรับตัวทางเพศและทางสังคมได้เหมาะสม โดยอยู่บนพื้นฐานของการเท่าเทียมกัน การนับถือและให้เกียรติซึ่งกันและกัน ดังนั้น การคบเพื่อนต่างเพศของวัยรุ่น จะต้องระลึกถึงสิ่งต่อไปนี้
1.   วัยรุ่นชายต้องคิดเสมอว่าวัยรุ่นหญิงเป็นเพศเดียวกับแม่ พี่สาวหรือน้องสาวจึงควรให้ความช่วยเหลือและให้เกียรติ
2.   ควรหลีกเลี่ยงการถูกเนื้อต้องตัว เพราะอาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ตั้งใจได้
3.   ควรหลีกเลี่ยงการไปพักค้างร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือตามลำพังโดยไม่มีผู้ใหญ่คอยดูแล
4.   ควรหลีกเลี่ยงการอยู่กันตามลำพังในที่ลับตาคน
5.   ควรหลีกเลี่ยงการไปในที่เปลี่ยว โรงแรมและสถานเริงรมย์ที่เป็นแหล่งมั่วสุมของวัยรุ่น
6.   ควรหลีกเลี่ยงการมีนัดหมายกับเพศตรงข้ามในยามวิกาล
7.   วัยรุ่นหญิงควรแต่งกายเรียบร้อยมิดชิด ไม่ควรแต่งกายในลักษณะยั่วยุให้เกิดอารมณ์ทางเพศ
8.   หลีกเลี่ยงการคบเพื่อนหรือออกเที่ยวกับเพื่อนต่างเพศที่ไม่รู้จักดีพอ     
9.   วางตัวเป็นสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีให้เกียรติซึ่งกันและกันไม่ควรมีการล่วงเกินทางเพศ
10.  มีกิริยามารยาทดี มีความอดทน อดกลั้น



*เมื่อมีปัญหาหรืออุปสรรคใด ๆ เกี่ยวกับเรื่องเพศควรรีบปรึกษาหารือผู้รู้ เรื่องเพศไม่ใช่เรื่องน่าอาย วัยรุ่นสามารถขอคำปรึกษาได้จากพ่อแม่ ครู อาจารย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตามสถานบริการของรัฐและคลินิคให้คำปรึกษาต่าง ๆ ไม่ควรปล่อยให้มีปัญหาจนสายเกินไป




อิทธิพลครอบครัว เพื่อน เพศ

อิทธิพลที่เกิดจากครอบครัว

   ความสัมพันธ์ในครอบครัว 
   องค์ประกอบของครอบครัว
   มาตรฐานในการอบรมเลี้ยงดูของครอบครัว
   อิทธิพลจากครอบครัว   ครอบครัวเป็นสถาบันที่ประกอบด้วยพ่อ แม่ ลูกซึ่งเป็นสถาบันแรกที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูและได้รับ ความรู้ต่างๆจากพ่อแม่และบุคคลในครอบครัวถ้าครอบครัวใดที่พ่อแม่และ บุคคลในครอบครัวมีการศึกษาและ ถ่ายทอดสิ่งที่ ดีมีคุณค่ากับเด็ก  เด็กก็จะได้รับการซึมซับสิ่งที่ดีมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์  แต่เด็กที่ที่เกิดในครอบ ครัวที่เป็นแบบอย่างใน ทาง ตรงข้าม เช่น พ่อ แม่ หรือบุคคลในครอบครัวมีการศึกษาน้อย ยากจน พ่อแม่มีพฤติกรรม ที่ไม่ถูกต้อง เช่น พูดจาหยาบคาย ไม่สุภาพ และมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมเด็กก็จะ ซึมซับเอาพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องนั้นมาเป็นพฤติกรรมของตนเอง


อิทธิพลที่เกิดจากเพื่อน
   ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนเพศเดียวกัน
   ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนต่างเพศ
   เพื่อนเป็นคนที่ชอบพอรักใคร่ของเด็กที่อยู่ในวัยเดียวกัน   หรือ ใกล้เคียงกันมีรสนิยมและสนใจเรื่องต่างๆ  เหมือนกันเพื่อนจึงมีอิทธิพลอย่างมากทั้งทางดี และ ไม่ดีเด็กที่รู้จักคบเพื่อน ที่ดีมาจากครอบครัวที่เป็นแบบอย่างที่ดีเด็กก็จะ ได้เพื่อนที่ดีชักชวนกันทำกิจกรรมที่ดีมีประโยชน์ เช่น     รักเรียน ช่วยเหลือผู้อื่น อยู่ในกรอบระเบียบที่ดีของสังคม




อิทธิพลที่เกิดจากเพศ
   พัฒนาการทางเพศ  การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมของวัยรุ่น มีผลต่อแรงผลักทางเพศ บทบาททางเพศ และพฤติกรรมทางเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากฮอร์โมนทางเพศและฮอร์โมนการเจริญเติบโต ทำให้วัยรุ่นแต่ละคนจะมีการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างกันออกไป




อ้างอิง   https://sites.google.com/site/kruwiruttwk/paccay-thi-mi-xiththiphl-tx-phvtikrrm-thang-phes-khxng-way-run




วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

คณะผู้จัดทำบล็อก

เรื่อง   อิทธิพลครอบครัว เพื่อน เพศ พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาและการปรับตัว


วิชา พ30101   ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา 2556 



จัดทำโดย


1. นางสาวชิตินาท  เทศรัตนวงศ์   เลขที่ 2

2. นางสาวปวิตรา   สุตันตยาวลี     เลขที่ 3

3. นายณัฐวัชร์        ภัคพาณิชย์      เลขที่ 12

4. นายภาสพล        อุฬารกุล          เลขที่  17

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  4  ห้อง 10



                                                                          คณะผู้จัดทำ